ปากกาวัดค่าความตึงของสายพาน, Industrial V-Belt Tension Tester Gauge
4,000 บาท ผมอนันต์ครับ Tel.0868910596
ท่านครับ ถ้าหากว่าท่านมีสายพานร่องวีเส้นหนึ่ง
แล้วท่านต้องการที่ทราบความตึงของสายพานร่องวีเส้นนั้น
วิธีที่ง่ายที่สุดที่ท่านทำได้ง่ายที่สุดคือวัดว่าสายพานร่องวีเส้นนั้นหย่อนได้
มากที่สุดเท่าไร
ซึ่งความหมายที่อธิบายได้ง่ายที่สุดก็คือ
มันต้องใช้แรงมากเท่าไรที่จะกดลงไปบนสายพานร่องวีเพื่อที่จะทำให้สายพาน
ร่องวีตึงลองดูวิธีทำกันครับ
หน้าตาของปากกาวัดทั้งด้ามจะเป็นแบบนี้ จะพบว่ามันมีโอริง
เพื่อคำนวนค่าระดับ และตรวจวัดได้ทั้งสองด้านครับ ด้านที่ท่านเห็นทางขวามือ
จะใช้วัดความตึงของสายพาน อันนี้บอกหน่วยที่วัดได้เป็นทั้งกิโลกรัม
และปอนด์ครับ
ส่วนถ้าเป็นด้านซ้ายมือเป็นการวัดเทียบระหว่างสายพานสองเส้นครับ
ว่าสายพานที่ท่านวัดเทียบกับเส้นที่ยังไม่วัดตึงเท่าไร
วิธีวัดให้ท่านเลื่อนโอริง ไปให้สุดให้อยู่ที่ขีดเริ่ม ตามภาพ
หลังจากนั้นให้ท่านนำไปใช้วัดกับสายพานได้เลย ในที่นี้ผมสาธิตนะครับ
คือสมมติให้โต๊ะเป็นสายพาน ให้ท่านตั้งปากกาขึ้น แล้วกดลงไปบนสายพาน
สายพานจะหย่อนลง ให้กดลงไปจนสุดความหย่อนของสายพาน
หลังจากนั้นให้ท่านปล่อยมือ จากปากกา
ท่านจะพบว่าโอริงนั้นจะถูกเลื่อนเปลี่ยนตำแหน่ง ลงไปตามแรงกดเมื่อสักครู่นี้
นำมาอ่านค่าครับ อย่างเช่นอันนี้อ่านได้เท่ากับ 6 กิโลกรัมครับ
ถ้าจะอ่านเป็นหน่วยปอนด์ ให้หมุนไปฝั่งตรงข้ามครับ
ถ้าหากว่าท่านจะวัดความตึงสายพานที่อยู่คู่กัน
เทียบระหว่างสองเส้นนี้ว่าเส้นที่วัดมีความตึงเท่าไรเมื่อเทียบกับเส้นแรก
ทำได้ดังนี้คือ
อันนี้สมมติว่า
มีสายพานสองเส้นเส้นแรกเป็นเส้นที่เราต้องการเทียบจะอยู่กับที่ให้ท่านนำไม้บร
รทัดเหล็กมาวางพาดไว้
ส่วนสายพานอีกเส้นที่เดินขนานกันอยู่เป็นเส้นที่ต้องการวัด ให้ท่านปรับ
โอริงให้สุดปลาย แล้วนำมาชนกับขอบไม้บรรทัดเหล็กอันนี้ที่มีสายพานเส้นแรก
แล้วกดลงไปให้สุดความตึงสายพาน
แล้วอ่านค่าที่ได้ครับ
อีกหนึ่ง Model ให้เลือกครับ
อีกหนึ่ง Model ให้เลือกเช่นกัน Model
นี้จะอ่านค่าได้ง่ายและเห็นตัวเลขได้ชัดเจน
Model นี้จะอ่านค่าได้ง่ายทั้งหน่วยนิ้วและหน่วยเซ็นติเมตร
วิธีใช้วิธีวัดก็เหมือน ๆ กันทุกรุ่นครับ
ก็คือจะวัด Length Span ได้ในหน่วยเซ็นติเมตร
0 - 500 เซ็นติเมตร
หรือถ้าจะวัดในหน่วยนิ้วจะได้ถึง 190 นิ้ว
มาชมคลิปวิธีการใช้ปากกาวัดความตึงสายพานอย่าง
ถูกวิธีและอ่านค่าความตึง ตามแบบฉบับฝรั่งครับ
คลิปนี้ชมแล้วเข้าใจง่ายมาก ๆ เลยครับ
อธิบายได้ดี ละเอียด ดูแล้วทำได้เลยครับ
ตารางเทียบค่าความตึงผมเตรียมไว้ให้อยู่ด้านล่าง
อยากให้ท่านชมก่อนแล้วผมจะขยายอีกทีครับ
ผมขอสรุปคร่าว ๆ จากคลิปนะครับ
คือก่อนอื่นเลยท่านต้องวัดระยะห่างระหว่างแกนมูเล่ย์ทั้งสองก่อนครับ(เรียกว่า Belt Span)
คือใช้ไม้เมตรวัด
ซึ่งจุดนี้ในคลิปเขาวัดได้ 15 นิ้วครับ ก็ให้ท่านมาปรับโอริงที่ด้ามของปากกาให้อยู่ที่ขีด 15
นิ้ว จากภาพท่านจะเห็นว่าแต่ละจุดจะห่างกัน 10 นิ้ว ก็ให้ท่านตั้งโอริงไว้ตามรูปครับ
หลังจากนั้นให้ท่านปรับโอริงอ่านค่าความตึงที่ด้านบนของปากกาให้อยู่ที่เลข 0 ตามภาพ
หลังจากนั้นท่านก็ทำการวัดได้เลยโดยให้กดปากกา
กดจากด้านบนโดยใช้ฝ่ามือกดและให้ด้ามปากกาอยู่บนสายพานตามรูป
หากเป็นสายพานเส้นคู่ก็ให้กดจนกระทั่งโอริงอยู่ในลักษณะดังภาพที่ 1
(ใช้เส้นที่ไม่ถูกกดเป็นจุดอ้างอิง)
หรือหากเป็นสายพานเส้นเดี่ยวก็ให้ใช้ไม้เมตรมาเป็นจุดอ้างอิงครับ
โดยกดลงไปจนโอริงอยู่ในลักษณะดังรูปครับ ซึ่งหากว่าเป็นสายพานที่ได้ความตึงพอดี
เมื่อกดลงไปจนถึงระดับนี้แล้วสายพานควรจะตึงพอดี
ให้ท่านสังเกตุสายพานที่เขาวัดด้วยครับว่าเป็นสายพานแบบมีรอยหยักด้านท้อง เรียกว่า
Gripnotch Belt
หลังจากนั้นแล้วให้ท่านอ่านค่าความตึงที่อ่านได้ครับ ตรงนี้อ่านได้ 7 ปอนด์
จากนั้นก็ให้ไปอ่านค่าในตารางครับ ตรงนี้เขาใช้สายพานแบบ B ครับ
โดยมีมูเลย์ตัวเล็กมีขนาดเส้นผ่านศูนย์กลางอยู่ระหว่าง 3.4 - 4.2 นิ้ว
โดยอ้างอิงจากความเร็วรอบของมอเตอร์ที่ใช้ที่ 860 - 2,500 รอบต่อนาที
ทั้งนี้แล้วสายพานที่วัดนั้นเป็นสายพานแบบมีรอยหยักด้านท้อง เรียกว่า Gripnotch Belt
ก็ให้ท่านอ่านค่า และสายพานที่วัดนี้เป็นสายพานใหม่(New Belt)
อ่านค่าความตึงที่ควรจะเป็นอยู่ที่ 7.2 ปอนด์ แต่ที่เราวัดได้อยู่ที่ประมาณ 7
ปอนด์อันนี้ถือว่าใช้ได้ครับ
หากวัดความตึงได้ต่ำกว่านี้หรือสูงกว่านี้ท่านต้องขันปรับระยะมูเล่ย์ใหม่ครับ
ตารางเทียบชนิดของสายพานและความตึงของ
สายพานที่ควรจะเป็น
ตรงนี้ตามตารางข้างล่างท่านต้องเลือกใช้ให้ถูกต้องด้วยนะครับ คือมันจะมี
2 ฝั่ง คือหากเป็นฝั่งซ้ายมือ วัดระยะกันเป็นนิ้ว
ซึ่งหน่วยของความตึงของสายพานจะมีค่าออกมาเป็นหน่วยปอนด์ครับ
ตรงนี้หากท่านจะใช้ตารางฝั่งซ้ายแล้ว
บนปากกาวัดความตึงสายพานท่านต้องตั้งค่าไปที่หน่วยปอนด์(pound)
และหน่วยนิ้ว(inches)นะครับ
ในส่วนตารางทางด้านขวามือ
หากท่านจะใช้จะต้องวัดตั้งค่าสายพานในหน่วยเซ็นติเมตร
(ในตารางระบุเป็น มม.) และอ่านค่าปากกาในหน่วย กิโลกรัม ครับ
บทประยุกต์และวิธีการใช้งานอื่น ๆ
นอกเหนือจากการวัดค่าความตึงของสายพาน
ปากกาวัดสายพานแบบด้ามเดี่ยวนี้
แท้ที่จริงก็คือตาชั่งน้ำหนักเคลื่อนที่ได้ขนาดเล็กนั่นเอง
ฉะนั้นแล้วมันจะสามารถวัดแรง หรือวัดน้ำหนักได้ แต่ข้อดีก็คือ
มันจะสามารถวัดน้ำหนักได้ในทิศทางที่ไม่ใช่เพียงแต่ให้น้ำหนักกด
ลงมาตรง ๆ เท่านั้น น้ำหนักด้านข้าง หรือน้ำหนักที่มาจากด้านบน
ด้านเฉียงก็สามารถจะวัดได้เช่นเดียวกัน
ในคลิปนี้ผู้ใช้ นำปากกาวัดความตึงสายพานแบบด้ามเดี่ยว
มาใช้วัดแรงที่ใช้ในการเปิดผลักประตูว่าจะเป็นไปตามกำหนดของ
ADAAG(ADA Accessiblility Guidelines) หรือไม่ แรงเปิด แรงผลักประตู
จะเป็นแรงที่ดันไปข้างหน้า ซึ่งโดยความเป็นจริง
ผู้ใช้งานประตูก็คงจะไม่รู้หรอกว่า
แรงที่ใช้ดันประตูีนี้ถ้าจะผลักออกไปจะใช้แรงโดยประมาณเท่าไร
สำหรับประเทศในแถบยุโรป หรืออเมริกาเหนือแล้ว
กฎเกณฑ์ต่าง ๆ
สำหรับสิ่งของเครื่องใช้จะทำไปโดยประมาณของผู้ติดตั้งไม่ได้
แต่ที่ถูกต้อง มันควรจะมีแนวทางหรือ
Guidelines บอก อาทิเช่น
ประตูที่จะเปิดจะผลักออกควรจะใช้แรงเท่าไรในการเปิด,
ราวจับห้องน้ำที่ถูกต้องควรจะสูงจากพื้นเท่า่ไร ยาวกว้างเ่่่่ท่า,
โถชักโครกในห้องน้ำห้องส้วมควรติดตั้งอย่างไร,
บันไดทางเดินควรจะมีขนาดเท่าไร ฯลฯ
ท่านสามารถเข้าไปศึกษาในเวบนี้ได้ครับ น่าสนใจจริง
ๆ https://www.access-board.gov/guidelines-and-standards/buildings-and-sites/about-the-ada-standards/background/adaag#4.13
ในคลิปนี้
คนสาธิตท่่านนำปากกาด้ามเดี่ยววัดความตึงสายพานอันนี้มา
ทดสอบว่าแรงที่ใช้เปิดประตู ซึ่งเป็นประตูในอาคารนี้
เป็นไปตามกำหนดแนวทางของ ADAAG หรือไม่
วิธีการตรวจสอบก็โดยปรับโอริงของปากกาวัดความตึงอันนี้ให้
อยู่ที่เลข 0 ก่อน
จากนั้นกดเข้าไปบนแผ่นประตูให้สูงกว่าระดับมือผลักเล็กน้อย
โดยต้องกดลงไปตรง ๆ ในแนวฉาก 90 องศา
จากนั้นออกแรงผลักให้ประตูดันไปให้สุดประตู 90 องศาเช่นกัน
อ่านแรงกดที่ได้บนปากกาว่าอ่านได้เท่าไร ในที่นี้ท่านอ่านได้
11 ปอนด์
ซึ่งท่านบอกว่าลักษณะนี้แล้วก็ควรจะแก้ไขประตูนี้สักเล็กน้อย
เพราะว่าตามกำหนดแนวทางของ ADAAG แล้ว
ประตูเปิดภายในอาคารควรจะอยู่ในช่วง 5 ปอนด์
ในขณะที่ประตูเปิดภายนอกอาคารควรจะอยู่ในช่วง 8.5 ปอนด์
ทั้งนี้แล้วประตูหลังจากที่เปิดแล้ว
ควรจะปิดกลับมาสนิทที่เดิมโดยใช้เวลาไม่น้อยกว่า 5 วินาที
ไม่ควรจะปิดกลับมาเร็วเกินไปลักษณะนี้ถือเป็นข้อกำหนด
ที่ควรปฎิบัติสำหรับการออกแบบหรือบำรุงรักษาประตูภายใน
และภายนอกอาคาร เป็นต้น
ท่านครับ ปากกาวัดความตึงสายพานแบบด้านบนมีข้อจำกัดอย่างหนึ่ง
คือสามารถวัดค่าความตึงของสายพานได้ไม่เกิน 30 ปอนด์ หรือประมาณ
10 กิโลกรัมกว่า ๆ
แต่ถ้าหากว่าท่านประสงค์จะวัดความตึงของสายพานอันเนื่องจากสายพา
นท่านมีขนาดใหญ่ ซึ่งจะต้องวัดความตึงได้มากกว่า 30 ปอนด์
ท่านจะสามารถทำได้เช่นกันครับ
แต่ท่านต้องใช้รุ่นปากกาคู่ครับหน้าตาเป็นเช่นนี้
คือโดยความเป็นจริงแล้วมันก็คือปากกาวัดค่าความตึงของสายพาน 2
อันนำมารวมกันและเชื่อมหัวและท้ายเข้าด้วยกัน
ท่านครับสมมติว่าท่านมีวัตถุชิ้นหนึ่งที่มีน้ำหนักประมาณ 40 กิโลกรัม
เศษ ๆ แล้วท่านต้องการจะชั่งวัตถุนี้
แต่มีข้อจำกัดว่าท่านมีตาชั่งกิโลที่สามารถจะชั่งน้ำหนักได้มากที่สุดเพียง
30 กิโลกรัม จำนวน 2 อัน
ท่านจะสามารถทำได้หรือชั่งน้ำหนักวัตถุิชิ้นนี้ได้หรือไม่ หรือทำด้วยวิธีใด
คำตอบคือ ทำได้ครับ เพราะมันสามารถทำได้อย่างง่ายดายเลย
คือแค่ท่านนำตาชั่งทั้งสองมาวางคู่กัน
แล้วนำวัตถุชิ้นนี้วางลงไปโดยให้พาดไปยังตาชั่งทั้งสอง ด้วยวิธีเช่นนี้
มันก็คือการเฉลี่ยน้ำหนักของวัตถุที่แทนที่จะให้ลงตรง ๆ
ไปยังตาชั่งอันเดียว(ซึ่งมันก็คงจะวัดไม่ได้แน่ ๆ)
แต่ว่าเราเฉลี่ยให้น้ำหนักบางส่วนลงไปบนตาชั่งอีกอันหนึ่งแทน
เพราะฉะนั้นแล้วน้ำหนักของวัตถุชิ้นนี้ก็จะเท่ากับน้ำหนักที่ตาชั่งทั้งสองอ่า
นได้นำมาบวกกันนั่นเองครับ
วิธีการนี้ร้านรับซื้อพลาสติกเก่าใช้กันเป็นประจำครับ
เพราะบางทีของที่เข้ามาที่ร้านเขามันประมาณน้ำหนักกันยากเหมือนกัน
เขาเลยพลิกแพลงกันแบบนี้ บางร้านผมเห็นเขาใช้เข้าไปมากกว่านี้ก็เห็น
ฉันใดฉันนั้น ปากกาวัดค่าความตึงของสายพานแบบแท่งคู่นี้
สามารถวัดค่าความตึงได้สูงสุด 66 ปอนด์หรือประมาณ 30 กิโลกรัม
โดยที่ปากกาทั้งสองถูกเชื่อมต่อกันทั้งด้านบนและด้านล่าง
เพราะฉะนั้นไม่ว่าท่านจะกดปากกาอันนี้ด้วยวิธีใดก็ตามแต่
แรงที่กดลงบนปากกาอันนี้ก็จะต้องนำมาบวกกันเสมอ
เพราะมันก็คือการกดน้ำหนักลงบนตาชั่งสองอันพร้อม ๆ กันนั่นเองครับ
แบบปากกาคู่นี้ของผมมีจำหน่ายเช่นกันครับ
แต่ราคาจะสูงกว่าแบบเดี่ยวครับ