WET BUBL DRY BULB THERMOMETER
เทอร์โมมิเตอร์กระเปาะเปียก กระเปาะแห้ง
650.- ผมอนันต์ครับ Tel.0868910596
เป็นอุปกรณ์วัดความชื้นสัมพัทธ์(ความชื้นในอากาศ) ที่ง่ายที่สุด เรียโดยทั่วไป
เทอร์โมมิเตอร์กระเปาะเปียก กระเปาะแห้ง หลักการทำงานคือมีเทอร์โมมิเตอร์ที่เหมือน
กันทุกอย่าง 2 อัน อยู่กันคนละข้าง เทอร์โมมิเตอร์ฝั่งทางซ้ายมือให้วัดอากาศโดยปกติ
ทั่ว ๆ ไป เรียกเทอร์โมมิเตอร์กระเปาะแห้ง ส่วนทางขวามือเป็นเทอร์โมมิเตอร์ที่พันด้วย
ผ้าขาวบางหรือผ้าที่บางมาก ๆ เปียกน้ำตรงปลายกระเปาะและให้ปลายผ้าจุ่มลงไปในน้ำ
เรียกเทอร์โมมิเตอร์กระเปาะเปียก การทำเช่นนี้จะทำให้เกิดการวัดอุณหภูมิขึ้นทั้งสองฝั่ง
ซึ่งแน่นอนที่สุดอุณหภูมิของเทอร์โมมิเตอร์ฝั่งขวามือโดยปกติย่อมจะต้องต่ำกว่าทางซ้าย
มือ เพราะมีน้ำอยู่ปลายกระเปาะ ความแตกต่างของอุณหภูมิทั้งสองฝั่งนั้นบอกถึงความ
ชื้นสัมพัทธ์ในอากาศได้ โดยนำอุณหภูมิทั้งสองฝั่งที่วัดได้มาทำการหักลบกันและเทียบ
กับตารางที่ให้มา ก็จะทำให้ทราบถึงความชื้นสัมพัทธ์ของอากาศขณะนั้นได้
เมื่อใดก็ตามที่ความชื้นในอากาศมีมาก การระเหยของน้ำที่อยู่ปลายผ้าของ
เทอร์โมมิเตอร์ฝั่งขวามือจะมีน้อย และเมื่อใดที่ความชื้นในอากาศมีน้อยการระเหยของน้ำ
ที่ปลายผ้าก็จะมากขึ้น หรือเมื่อใดที่อุณหภูมิทั้งสองฝั่งห่างกันน้อยมาก ๆ นั่นหมายถึงการ
กลั่นตัวของหยดน้ำซึ่งนั่นเป็นการบอกคร่าว ๆ ถึงจุด Dew Point ได้ด้วย
ข้อดี
ไม่มีวันเสีย นอกจากทำตกแตก
ไม่มีทางคลาดเคลื่อน เพราะปรอทในเทอร์โมมิเตอร์ทำหน้าที่โดยสมบูรณ์อยู่
แล้วเช่นผมซื้อเทอร์โมมิเตอร์อันหนึ่งมาเมื่อยี่สิบปีก่อนวัดในน้ำเดือดได้ 100 องศา
เซลเซียส วัดในน้ำแข็งได้ 0 องศาเซลเซียส ผ่านไปยี่สิบปีก็ยังวัดได้เท่าเดิม
ราคาประหยัด และไม่รวนเพราะไม่ใช่อุปกรณ์ไฟฟ้า คุณสามารถซื้อมาแขวนได้
ทุก ๆ ห้องยังได้เลยครับ
หมั่นทำความสะอาดปลายผ้ากระเปาะเปียกหรือเปลี่ยนผ้าบ้าง และทำความสะอาดที่ใส่
น้ำในกระเปาะเปียกเสมอตามเวลาจะช่วยให้การวัดแม่นยำขึ้นได้
จากภาพด้านบนกระผมจะขอกล่าวถึงวิธีอ่านค่าการวัดเปอร์เซ็นต์ความชื้น
ของอากาศที่วัดได้ ท่านจะพบว่าอุณหภูมิของกระเปาะเปียก และกระเปาะแห้งจะ
ไม่เท่ากัน เช่นสมมติถ้าหากว่าอุณหภูมิของกระเปาะแห้งอ่านได้ 30 องศา
เซลเซียส ส่วนอุณหภูมิของกระเปาะเปียกอ่านได้ 28 องศาเซลเซียส ให้ท่านไป
อ่านชาร์จที่ให้มาโดยดูที่ฝั่งซ้ายให้อ่านค่าที่ 30 องศาเซียส ส่วนอุณหภูมิผล
ต่างคือ 30 - 28 = 2 องศาเซียส จากตารางเลข 2 ด้านบนให้มองลงมาให้ชน
กับค่า 30 ด้านซ้าย เพราะฉะนั้นจะอ่านค่าความชื้นได้เท่ากับ 85 เปอร์เซ็นต์
ลองยกอีกสัก 2 - 3 ตัวอย่างครับ เช่น ถ้าอุณหภูมิ กระเปาะแห้งอ่านได้ 33
อุณหภูมิกระเปาะเปียกอ่านได้ 29 เพราะฉะนั้นความชื้นจะอยู่ที่ 73 เปอร์เซ็นต์
หรือถ้าอุณหภูมิกระเปาะแห้งอยู่ที่ 26 ส่วนอุณหภูมิกระเปาะเปียกอ่านได้ 20
เพราะฉะนั้นความชื้นจะเท่ากับ 55 เปอร์เซ็นต์ เป็นต้น
เราจะพบว่าจากชาร์จนั้นบอกอะไรเรา ชาร์จนั้นบอกได้ว่าเมื่อใดก็ตามที่อุหภูมิ
ของกระเปาะเปียกใกล้เคียงกับกระเปาะแห้งมากเท่าใด ความชื้นจะมากขึ้น แต่
ถ้าเมื่อใดก็ตามที่อุณหภูมิทั้ง 2 กระเปาะเท่ากัน เรียกว่าจุดนั้นคือจุด Dew
Point คือจุดที่น้ำในอากาศจะตกตะกอน ส่วนจะอยู่ในรูปใดก็แล้วแต่สภาพ
อากาศในขณะนั้น เช่นในเมืองร้อนจะเกิดฝนตก ส่วนในเมืองหนาวที่อุณหภูมิต่ำ
กว่า 0 องศาเซลเซียส ก็จะเกิดหิมะตก หรือลูกเห็บตก เป็นต้น
ทั้งนี้เทอร์โมมิเตอร์กระเปาะเปียกกระเปาะแห้งนี้รางใส่น้ำถอดได้นะครับ
ถ้าหากว่าท่านใช้ไปนาน ๆ แล้วเกิดมีตะไคร่น้ำขึ้นถอดมาล้างทำ
ความสะอาดก่อนจะดีขึ้นและน่าดูขึ้นครับ
อีกสิ่งหนึ่งที่ท่านจำเป็นต้องระวังเป็นอย่างยิ่งคือ
รางใส่น้ำที่ท่านเห็นนี้ถ้าหากท่านต้องการความแม่นยำของการอ่านค่ากระเปาะ
เปียกให้มากที่สุด น้ำที่ท่านนำมาใส่ในรางนี้ควรจะเป็นน้ำกลั่นบริสุทธิ์ครับ
เพราะอะไร เป็นเพราะว่าน้ำบริสุทธิ์จะมีจุดเดือดคงที่ที่ 100 องศาเซลเซียส
ในขณะที่มีจุดเยือกแข็งคงที่ที่ 0 องศาเซลเซียส
แต่ถ้าหากว่าท่านนำน้ำประปาหรือน้ำดื่มมาใช้ก็อาจจะยังพออนุมานให้ใช้ได้
แต่ถ้าท่่านไปนำน้ำที่ไม่สะอาดมาใส่ในรางนี้ ค่าที่อ่านได้จะเพี้ยนไปได้ครับ
เพราะในน้ำมีมลภาวะมาก หรือมีสิ่งเจือปนที่ไม่ควรจะมีในน้ำบริสุทธิ์
เช่นบางท่านถามผมว่าใส่น้ำอัดลมลงไปได้ไหม อันนี้เรียนว่าไม่ได้เด็ดขาดครับ
ซึ่งแน่นอนว่าจุดเดือดและจุดเยือกแข็งก็จะผิดไปจาก
100 และ 0 องศาเซลเซียสอย่างแน่นอน
และนั่นจะหมายถึงอัตราการระเหยที่จะผิดไปจากน้ำบริสุทธิ์ด้วย
มีความน่าสนใจอยู่อีกจุดหนึ่งซึ่งผมคิดว่าคนไทยส่วนใหญ่ต้องสงสัยเหมือนผมแน่ ๆ
คือ ถ้าหากว่าเราดูจากชาร์ตของเทอร์โมมิเตอร์กระเปาะเปียกกระเปาะแห้งแล้ว จะพบว่า
ถ้าที่อุณหภูมิสูง ๆ คือถ้าหากว่าสูงเกินกว่า 28 องศาเซลเซียสขึ้นไป(ซึ่งที่เมืองไทยก็คง
จะเกินทุกวัน ๆ แน่ ๆ ) ความชื้นที่อ่านได้จะสูงมาก ๆ เลย ไม่เชื่อ
ให้ท่านลองมองไปที่ชาร์ตด้านบนครับ คือความชื้นอย่างเบาะ ๆ ก็ต้องมี 60
เปอร์เซ็นต์ขึ้นไป แต่ถ้าหากว่าเราอยากจะเห็นหรือต้องการเห็นความชื้นอากาศที่น้อย ๆ
เพื่อที่จะได้อยู่อย่างสบาย ๆ ไม่มีเหงื่อมาเกาะตามร่างกาย ซึ่งมันทำให้ไม่ค่อยจะสบายตัว
ต้องทำอย่างไรหรือต้องให้ได้อากาศมัน
เป็นอย่างไรให้ท่านลองดูชาร์ตด้านล่างของเทอร์โมตัวนี้ครับ
จากชาร์ตที่เห็นด้านบนนี้ เราจะพบว่าอากาศที่อุณหภูมิต่ำลงและ
โดยเงื่อนไขว่าอุณหภูมิกระเปาะเปียกห่างจากอุณหภูมิกระเปาะแห้งพอสมควรคือห่าง
กันประมาณ 4 - 5 องศาเซลเซียสขึ้นไปแล้วค่าความชื้นในอากาศจะน้อยกว่า ประกอบ
กับอากาศที่เย็น จะทำให้อยู่สบายกว่ากันครับ ปกติแล้วอากาศอย่างนี้จะอยู่ในเขตอบอุ่นที่
อยู่ห่างจากทะเลสักหน่อยหรือไม่งั้นก็เป็นช่วงฤดูร้อนในประเทศเขตหนาวครับ
แต่ท่านไม่ต้องเป็นห่วงนะครับ ถ้าท่านอยากจะได้อุณหภูมิที่เย็นลงและ
ความชื้นลดลง ให้ท่านลองตั้งเครื่องปรับอากาศในห้องแอร์ท่าน ให้เย็นสุดก่อนสักพัก หลัง
จากนั้นให้ปรับเครื่องปรับอากาศให้ได้อุณหภูมิที่เหมาะสม เพื่อจะได้ประหยัดค่าไฟฟ้า และ
ใช้พัดลมเปิดให้แรงหน่อยช่วยเป่าส่าย จะทำให้อากาศในห้องหมุนเวียนความเย็นไปได้
ทั่วทุกจุดของห้อง และบางครั้งก็ช่วยทำให้ความชื้นในห้องลดลงด้วย และประหยัดไฟได้
ด้วย ผมลองทำมาแล้ว
ท่านทราบหรือไม่ว่าจุดที่ร้อนที่สุดบนโลก(สภาพอากาศ) ที่มนุษย์เคยบันทึกไว้อยู่ที่
ประเทศลิเบีย เมือง El Azizia ใกล้ทะเลทรายซาฮารา อุณหภูมิที่บันทึกได้อยู่ที่ 136
องศาฟาเรนไฮน์(ประมาณ 57.8 องศาเซลเซียส) ในวันที่ 13 กันยายน 2465 ประมาณกัน
ว่าในวันนั้นอุณหภูมิกลางทะเลทรายซาฮาราถ้านำอุปกรณ์ไปวัดและบันทึกอย่างเป็นทาง
การแล้วต้องอยู่สูงกว่าจุดนี้ค่อนข้างแน่นอน ซึ่งถ้าหากอุณหภูมิประมาณนี้ถ้าท่านนำ
เทอร์โมมิเตอร์กระเปาะเปียกกระเปาะแห้งไปวัดแล้ว จะพบว่ามันจะเกินกระเปาะและเกินค่า
ที่ชาร์จระบุมาให้ เพราะฉะนั้นในกรณีเช่นนี้เราอนุมาณได้ว่า ชาร์จเทียบค่าความชื้นกับ
อุณหภูมินั้นมีความสำคัญเป็นอย่างมาก เพราะถ้าหากท่านทราบอุณหภูมิทั้งกระเปาะเปียก
และกระเปาะแห้งแล้วแต่ท่านไม่มีชาร์จเทียบหรือชาร์จเทียบมีข้อมูลให้ไม่เพียงพอ(เพราะ
เนื้อที่ที่จะพิมพ์บนกระดานเทอร์โมมีไม่พอ) หรือตัวเลขบนชาร์จเทียบใช้ไปนานเกิดการลบ
เลือน ก็จะไม่สามารถทราบค่าความชื้นได้ ฉะนั้นถ้าท่านต้องการทราบค่าความชื้นแล้วท่าน
ต้องเข้าเวบด้านล่างที่ผมให้ครับ
เมื่อท่านเข้าไปแล้วให้พิมพ์ค่าอุณหภูมิที่ท่านทราบจากการวัดที่ช่องที่เว้นว่างไว้ โดย
ให้พิมพ์ตัวเลขเป็นองศาเซลเซียส หรือฟาเรนไฮน์ ก็ได้ ในช่อง dry bulb และ wet
bulb แล้วให้ตรวจสอบค่าความดันอากาศในขณะนั้(Millibars) จากเวบไซต์
ของ กรมอุตุนิยมวิทยา ในจังหวัดที่ท่านอยู่อาศัย โดยดูไปที่คำว่า ความกดอากาศ
ให้ท่านนำค่าความกดอากาศนี้พิมพ์ลงไปในช่อง Millibars แล้วกด Compute ท่านก็จะ
ได้ค่าเปอร์เซ็นต์ความชื้นสัมพัทธ์ในขณะนี้นออกมาในช่องที่เขียนว่า Relative
Humidity และทั้งนี้ท่าน
ก็จะทราบค่ากรัมต่อกิโลของความชื้นไอน้ำได้ด้วย รวมทั้งจุด Dew Point อีกด้วยครับ มัน
มีประโยชน์มาก ๆ เลย
ส่วนจุดที่หนาวที่สุดในโลกที่เคยบันทึกไว้วัดอุณหภูมิได้ อยู่ที่ -89.2 องศาเซลเซียส ที่
สถานนี้ตรวจวัดอากาศของอดีตสหภาพโซเวียตที่ขัวโลกใต้ วัดได้ในวันที่ 21 กรกฎาคม
2526 ที่มา วิกิพีเดีย ครับ
http://www.ringbell.co.uk/info/humid.htm
ทั้งนี้ผมมีเทอร์โมลักษณะเดียวกันนี้ให้ท่านเลือกอีก 2 รุ่นครับ แต่เป็นของไต้หวันกับจีนครับ
คุณภาพด้อยกว่าเล็กน้อย ถาดใส่น้ำเล็กกว่าใส่ได้น้อยกว่าท่านต้องคอยหมั่นดูน้ำเสมอไม่
ให้แห้ง ราคา 400 บาท และ 350 บาทครับ ทั้งนี้ชาร์จอ่านค่าจะละเอียดน้อยกว่าของ
ญี่ปุ่นสัก 5 องศาเซลเซียสครับ
ข้อพึงสังเกตุบางประการเกี่ยวกับการวัดความชื้นของอากาศโดยใช้
เทอร์โมมิเตอร์แบบกระเปาะเปียกกระเปาะแห้ง
สิ่งที่่น่าสังเกตุก็คือ
การวัดความชื้นโดยใช้เทอร์โมมิเตอร์นี้จะใช้กระเปาะเปียกหรือ Wet
Bulb
เป็นตัวเชื่อมเพื่อให้มองเห็นอุณหภูมิความต่างระหว่างอุณหภูมิแห้ง
และกระเปาะเปียก
เพราะฉะนั้นแล้วอุณหภูมิในกระเปาะเปียกจะยังสามารถอ่านค่าได้
ก็ต่อเมื่อ น้ำที่อยู่ในรางใส่น้ำ ยังอยู่ในสภาพที่ยังเป็นของเหลว
ก็คือว่าตามธรรมชาติที่อยู่บนโลกใบนี้
เราจะพบน้ำได้ในสามสถานะด้วยกันคือ
น้ำที่อยู่ในรูปของไอน้ำที่อยู่ในอากาศ,
น้ำที่อยู่ในรูปของเหลวที่เราใช้ดื่มกินหรือใช้ทำกิจวัตรประจำวัน
และน้ำที่อยู่ในรูปของของแข็งเช่น น้ำแข็ง
น้ำจะอยู่ในรูปของของเหลวได้ จะต้องอยู่ในอุณหภูมิระหว่าง 0
องศาเซลเซียสขึ้นไปจนถึง 100 องศาเซลเซียส
อยากจะใช้ท่านดูชาร์ตที่อยู่บนเทอร์โมมิเตอร์กระเปาะเปียกกระเปาะแห้ง
อีกครั้งครับ
หากว่าท่านมองไปที่ตารางสีเขียวซึ่งเป็นชาร์ตเทียบระหว่่างการหาความ
ต่างระหว่างอุณหภูมิในกระเปาะเปียกและกระเปาะแห้งแล้ว
ท่านมองลงไปที่ตารางตัวเลขด้านล่างสุด ท่านจะพบว่า มันจะเริ่มต้นจาก
0 องศาเซลเซียส ซึ่งจะเป็นเช่นนี้สำหรับเทอร์โมมิเตอร์ลักษณะนี้ทุกยี่ห้อ
นั่นเป็นเพราะว่าหากอุณหภูมิในอากาศอยู่ต่ำกว่า 0 องศาเซลเซียสแล้ว
ท่านจะใช้เทอร์โมมิเตอร์ลักษณะนี้มาวัดความชื้นในอากาศไม่ได้
หากจะวัดความชื้นในอากาศที่อุณหภูมิต่ำกว่า 0
องศาเซลเซียสต้องใช้มิเตอร์รุ่นอื่น(เช่นรุ่นด้านล่างนี้)
เพราะน้ำในรางใส่น้ำจะจับตัวเป็นน้ำแข็ง
ซึ่งจะทำให้น้ำที่อยู่ในกระเปาะเปียกไม่สามารถทำหน้าที่ได้
คือน้ำจะไม่ระเหยขึ้นมา
แต่ว่าเทอร์โมมิเตอร์รุ่นนี้ยังคงวัดอุณหภูมิของอากาศได้ที่ต่ำกว่า
ศูนย์องศาเซลเซียส คือสามารถวัดได้ถึงติดลบ 20 องศาเซลเซียสทีเดียว
เสมือนหนึ่งตั้งคำถามว่า
หากท่านนำเสื้อผ้าที่ใส่ไปซักน้ำที่อุณหภูมิปกติ
แล้วนำเสื้อผ้าที่ซักเสร็จแล้วแต่ยังไม่ตากให้แห้ง
ไปตากไว้ในห้องแช่แข็งที่อุณหภูมิต่ำมาก ๆ ต่ำกว่าจุดเยือกแข็ง
คำถามคือ
แล้วเสื้อผ้าที่ท่านนำไปตากมันจะแห้งหรือไม่
ซึ่งคำถามนี้มีอยู่ในเวบคำถามฟิสิกส์ ท่านผู้รู้เฉลยไว้ว่า
เสื้อผ้าที่ท่านนำไปตากมันจะไม่แห้งครับ
เพราะว่าน้ำที่อยู่บนเสื้อผ้าที่ซักและนำไปตากมันจะกลายเป็นน้ำแข็งเสีย
ก่อน เสื้อผ้ามันดูเสมือนว่าจะแห้ง แต่หากมองดี ๆ แล้ว น้ำที่อยู่บนเสื้อผ้า
มันจะกลายเป็นเกล็ดน้ำแข็งเล็ก ๆ ที่เกาะอยู่บนเสื้อผ้านั่นเอง
ซึ่งหากนำเสื้อผ้านี้ออกมาไว้ที่อุณหภูมิปกติ
น้ำแข็งก็จะละลายและเสื้อผ้าก็จะเปียกเหมือนเดิม
เพราะฉะนั้นแล้วคนที่อาศัยอยู่ในเขตหนาว
ย่อมต้องมีวิธีการตากผ้าให้แห้งด้วยวิธีเฉพาะของเขา
ทดลองทำได้ที่ตู้ช่องแช่แข็งในตู้เย็นที่บ้านครับ
อีกจุดหนึ่งที่ผมค้นคว้ามาได้จากประสบการณ์ของการนำ Wet Bulb
Dry Bulb thermometer
ของฝรั่งที่นำเทอร์โมมิเตอร์ลักษณะนี้ไปใช้ในเมืองหนาวหรือเขตหนาว
หรือในสถานที่ที่มีอากาศเย็นมาก ๆ ก็คือ
อุณหภูมิของฝั่งกระเปาะเปียก(Wet Bulb)
บางครั้งอ่านค่าได้สูงกว่่าฝั่งกระบอกแห้ง(Dry Bulb)
ซึ่งนี่เป็นเรื่องที่ผิดปกติ หรือผิดธรรมชาติ
อันนี้มีสาเหตุมาจากสถานที่หรือบริเวณที่นำเทอร์โมมิเตอร์กระเปาะเปียก
กระเปาะแห้งนี้ไปวัดไม่เพียงแต่อากาศ
จะเย็นมาก ๆ แล้ว แต่ยังมีลมพัดแรงมาก ๆ อีกด้วย
อยากให้ท่านดูด้านปลายของกระเปาะเปียกในรูปอีกครั้งครับ
ปลายของเทอร์โมมิเตอร์กระเปาเปียกจะถูกห่อหุ้มไว้ด้วยผ้าที่ใช้ซับน้ำ
ซึ่งตามปกติแล้วหากนำมาวัดในเมืองร้อนหรือพื้นที่ในเขตร้อนแล้ว
อุณหภูมิของฝั่งกระเปาะเปียกอย่างไรเสียมันต้องอยู่ต่ำกว่าอุณหภูมิที่
อ่านได้ในฝั่งกระเปาะแห้ง แต่เนื่องจากในเมืองหนาวที่อุณหภูมิหนาว
มาก ๆ และลมพัดแรงมาก ๆ
จึงเป็นไปได้ที่จะทำให้อุณหภูมิที่อยู่ในฝั่งกระเปาะแห้งที่ด้านปลายไม่มี
อะไรมาห่อหุ้มอ่านค่าอุณหภูมิได้ต่ำกว่าฝั่งกระเปาะเปียกที่มีผ้าหุ้มไว้อยู่
สรุปก็คือ เทอร์โมมิเตอร์แบบกระเปาะเปียกกระเปาะแห้ง
(Wet Bulb Dry Bulb Thermometer) จะใช้งานได้ดีเมื่ออยู่ในเขตร้อน
เขตร้อนชื้นครับ เพราะการอ่านค่าอุณหภูมิจะตรงกว่า
ทดลองใช้จริงดูครับ ไม่ยากครับ
แรกสุดก็คือนำผ้าที่เป็นไส้ของกระเปาะเปียก Wet Bulb
หย่อนลงไปในรางบรรจุน้ำ ให้สุด จากนั้นก็เติมน้ำกลั่นบริสุทธิ์ลงไป
จากนั้น นำเทอร์โมมิเตอร์ไปแขวนในจุดที่ต้องการวัด
รอสักพักให้เทอร์โมมิเตอร์อ่านค่าอุณหภูมิได้นิ่ง ๆ ก่อน
(รอสัก 5 - 7 นาที) แล้วจึงอ่านค่าอุณหภูมิจากทั้งสองกระเปาะ
จะพบว่าอุณหภูมิที่อ่านได้จากกระเปาะเปียกจะต่ำกว่าอุณหภูมิที่อ่านได้
ในกระเปาะแห้งเสมอครับ
จากนั้นก็ให้แปลผลความต่างของอุณหภูมิทั้งสองกระเปาะแล้วนำไปเทียบ
กับชาร์ตที่อยู่บนเทอร์โมมิเตอร์อันนี้ เช่นในขณะนี้แล้ว
ผมติดตั้งเทอร์โมมิเตอร์นี้ในบ้าน(ห้องธรรมดาที่ยังไม่ได้เปิดพัดลม)
อ่านค่าอุณหภูมิของฝั่งกระเปาะแห้งได้เท่ากับ 30 องศาเซลเซียส
ส่วนอุณหภูมิของฝั่งกระเปาะเปียกอ่านได้เท่ากับ 27 องศาเซลเซียส
นำค่าอุัณหภูมิทั้งสองฝั่งลบกันได้เท่ากับ 3 องศาเซลเซียส
นำไปเทียบกับชาร์ตก็จะอ่านค่าความชื้นในขณะนี้ได้เท่ากับ
78 เปอร์เซ็นต์ เป็นต้น
สถานที่ต่างกันจะมีอุณหภูมิทั้งด้านกระเปาะเปียกและกระเปาะแห้งไม่เท่า
กันเพราะฉะนั้นแล้วก็จะทำให้มีเปอร์เซ็นต์ความชื้นไม่เท่ากันได้ด้วยครับ
อาทิเช่น ผมนำเทอร์โมมิเตอร์อันนี้ไปวัดอยู่กลางแดดจัด ๆ ตอนเที่ยง
ในกรณีที่ค่าอุณหภูมิต่างที่อ่านได้เกินกว่าชาร์ตบนเทอร์โมมิเตอร์ที่ให้
มาท่านสามารถเข้าไปในเวบด้านล่างนี้เพื่อกรอกตัวเลขอุณหภูมิที่อ่านไ้ด้
เพื่อหาค่าได้เช่นกันครับ เวบนี้ ให้ท่านสังเกตุว่า
หากว่าท่านทราบค่าอุณหภูมิของกระเปาะเปียก
และอุณหภูมิของกระเปาะแห้งแล้ว หรือถ้าจะให้ดีทราบระดับความสูงด้วย
ท่านกรอกตัวเลขทั้งสามค่านี้ลงไปแล้วกดที่ปุ่ม Calculate
ท่านก็จะได้ทราบค่าอื่น ๆ ได้อีกหลาย ๆ ค่าเลยครับ
ไม่เพียงแต่ท่านจะได้ทราบแค่เปอร์เซ็นต์ความชื้นเท่านั้น
คือจะได้ทราบได้อีก 9 ค่าครับ